วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

Technology Website เทคโนโลยีเว็บ

Technology Website เทคโนโลยีเว็บไซต์


การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทีมงานได้คิดค้นวิธีการถ่ายทอดเอกสารข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ HyperText ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผลที่ได้คือ โปรโตคอล HTTP (HyperText Transport Protocol) และภาษาที่ใช้สนับสนุนการเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)ด้วยเทคโนโลยี HTTP และ HTML ทำ ให้การถ่ายทอดข้อมูลเอกสารมีความคล่องตัว สามารถเชื่อมไปยังจุดต่างๆ ของเอกสาร เพิ่มความน่าสนใจในการอ่านเอกสาร ใช้งานเอกสาร จนได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (Webpage) เป็น ที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบ โตเป็นหนึ่งในรูปแบบบริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของระบบอินเทอร์เน็ต ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มี ความสามารถมากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้
1.   The Web is a Graphical Hypertext Information System. การ นำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู
2.   The Web is Cross-Platform. ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับ ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) เนื่องจากข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็นUNIX หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้
3.   The Web is distributed. ข้อมูล ในเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
              4.   The Web is interactive. การทำงานบนเว็บเป็นการทำงาน แบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL: Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่านเบราว์เซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจอันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง



ประวัติของเว็บไซต์

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


1.   Static : หรือ web1.0 “Web 1.0 = Read Only, static data with simple markup”
เป็น เว็บไซต์แบบคงที่ ส่วนใหญ่จะพัฒนาด้วยภาษา HTML มีลักษณะเฉพาะคือ ข้อมูลจะเป็น Text File หรือเป็น HTML ทั้งหมด ข้อมูลของเว็บจะไม่เปลี่ยนจนกว่าจะอัพโหลดไฟล์ใหม่ไปวางทับ แสดงผลได้เร็วที่สุด ภาษาที่พัฒนาก็คือ HTML พัฒนาได้ง่าย ภาษาที่ใช้ไม่ซับซ้อน







ภาพที่ 1 วิวัฒนาการ web1.0 –  web2.0 



    web1.0 เป็นเว็บสมัยดั้งเดิมเป็นเว็บที่อยู่ในสมัยยุคแรกที่ internet "web1.0"ตัวนี้นี่แหละที่ทำให้โลกของ internet ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะ" web1.0" เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ ที่เราอยากรู้ ซึ่งจะส่งเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงเดียวเพื่อนำเสนอผู้ที่มาเข้าชม พูดได้ง่ายๆ " web1.0 " ก็คือเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราเปิดเพื่อค้นหาข้อมูลในการทำรายงานส่งอาจารย์นั่นเอง ในทฤษฎีของการสื่อสารถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว  ( one-way communication ) เพราะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่ได้รับข้อมูล  Web 1.0 เป็นการใช้ข้อมูลด้านเดียว เว็บ 1 เว็บจะมีผู้ใช้ 1 คนคือ web master หรือผู้สร้างเว็บ เป็นผู้ให้ข้อมูล และ ผู้เข้าชมเว็บเป็นผู้รับข้อมูล จะรู้จักแค่การรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชทรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ลักษณะของเว็บWeb 1.0

Web1.0 แก้ไขอัพเดตข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บได้เฉพาะ Webmaster หรือคนดูแลเว็บไซต์เท่านั้น  
Web 1.0 สร้างเรตติ้งแบบปากต่อปากได้ยาก เนื่องจากสื่อสารทาง
Web 1.0 ให้ข้อมูลความรู้แบบตายตัว การเปลี่ยนแปลงแก้ไขขึ้นอยู่กับ Webmaster 


2.   Dynamic : หรือ web2.0เป็นเว็บไซต์ทีสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเขียนหน้าเว็บใหม่เอง เช่น กระดานข่าว (Web board หรือ Forum), Search Engine จะ สังเกตได้ว่า เมื่อมีผู้มาตั้งกระทู้ และตอบกระทู้ ก็จะเกิดหน้าเว็บเพจนั้นๆ ขึ้นได้เอง โดยที่เราไม่ได้เป็นคนสร้างหน้าเว็บเหล่านั้นเอง เว็บไซต์รูปแบบนี้จะถูกสร้างด้วยภาษา Script แบบ ServerSideScript เช่น PHP, ASP, ASP.Net, JSP และ etc. ไฟล์เอกสารที่ได้จะมีนามสกุล .php, .asp .aspx เป็นต้น และมักจะมีการติดต่อกับ Database เพื่อบันทึกข้อมูลลงใน Database หรือนำข้อมูลจาก Database ออกมาแสดงผลที่หน้าเว็บ ส่วนการทำงานของเว็บไซต์รูปแบบนี้ จะต่างจากแบบ Static โดยเมื่อมีผู้ชมเรียกดูหน้าเว็บเพจ ไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นจะถูกแปลและ execute คำสั่งโดยตัว Interpreter ที่ฝั่ง Server ให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร HTML ก่อน จึงส่งกลับให้ Web Server เพื่อส่งต่อไปให้ Web browser ของผู้ใช้งานต่อไป การสร้างเว็บไซต์รูปแบบนี้ ต้องอาศัยความรู้ในการเขียนโปรแกรมมากกว่าแบบแรกมาก นอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐาน HTML แล้ว ยังต้องเขียนภาษา Server Side Script จำเป็นต้องรู้เรื่องการจัดการ Database ต้องเขียนภาษา SQL เพื่อจัดการกับข้อมูลใน Database ได้

ภาพที่ 2 ส่วนหนึ่งของ web2.0 

Web 2.0 เป็นเว็บในปัจจุบัน ที่เราใช้ Internet เพื่อเขียนบล็อก (BLOG), แชร์รูปภาพ ร่วมเขียนวีกี (Wiki), แสดงความคิดเห็น (Post Comment) ในข่าวหาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่าน รวมทั้ง Google จะเห็นได้ว่าวิถีการใช้ Internet เริ่มเปลี่ยนไป เว็บ 2.0 คือ การให้ความหมายของสิ่งที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยีเว็บไซต์เว็บในยุคปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะมีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์มากขึ้น ไม่ใช่แค่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บจัดทำขึ้นเท่านั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถสร้างข้อมูล (Content) ของเว็บไซต์ขึ้นมาได้เองหรือสามารถกำหนดคำสำคัญของเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องข้อมูล (tag content) ตัวอย่างเช่น Digg, Flickr, YouTube, Wiki Web 2.0 application นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติที่เรียกว่า RIA (Rich Internet Application) คือมี ส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) ที่ดียิ่งขึ้น เช่น คุณสมบัติลากแล้ววางโดยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการสร้าง RIA เช่น AJAX, Flashส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของเว็บแอพพลิเคชั่น 2.0 นั่น ก็คือการที่สร้างเว็บแอพพลิเคชั่นแล้วเปิดบริการของเว็บให้คนอื่นๆ สามารถมาใช้ได้ เช่น สร้างเว็บแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับระบบการซื้อขายสินค้าออนไลน์ขึ้นมา

3.   Active : เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ Script ส่วนของ Java Applet, Active X, VB Script เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเน้นภาษา Java เป็นหลัก Active Website มีลักษณะที่โดดเด่นคือ การส่งถ่ายข้อมูลหน้าเว็บไซต์จะเป็นการทำงานแบบข้างหลัง ทำให้ไม่เห็นแถบโหลดของ Web Browser (เช่น JavaScript หรือ AJAX) หรือดึง Source code มาประมวลที่ Client ด้วย Web Browser (เช่น Java Runtime) เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถดึงเอาภาษา CSS เข้ามาช่วยในการแสดงผลเฉพาะข้อมูลได้ โดยไม่ต้องโหลดหน้าเว็บมาใหม่เหมือนแบบ Dynamic เมื่อประมวลผลผ่าน Web Browser (ใช้หลักการของ Windows Application)

ภาพที่ 3  web3.0 
Web 3.0 กำลังจะมา ผู้ชมสามารถอ่าน เขียน จัดการ ( Read -Write-Execute ) คือจาก  [4]
ที่ผู้เข้าไปใช้อ่าน และเพิ่มข้อมูล ผู้ใช้ก็สามารถปรับแต่งข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น สำหรับเมืองไทยนั้นจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต เทคโนโลยีบางอย่างที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ใน web 3.0 ได้แก่
  
3.1     Artificial intelligence (AI) เป็นความฉลาดเทียมที่สร้างให้กับสิ่งไม่มีชีวิต ในที่นี้คือระบบคอมพิวเตอร์ อันจะเอามาเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยคาดเดาพฤติกรรม วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลนั้นมา ระบบก็จะให้ในสิ่งนั้นๆ ที่ต้องการ หรือถ้าคิดแบบไทยๆ ก็คือหลักการของปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง
3.2   Automated reasoning ระบบคอมพิวเตอร์ที่รู้จักการแก้ปัญหาเอง มีการประมวลผล ได้อย่างสมเหตุ พร้อมทั้ง แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า อักทั้งปรับปรุงระบบเอง โดยอัตโนมัติไปในตัว และ Automated reasoning เองก็จัดอยู่บน พื้นฐานของหลักการในข้อที่ผ่านมา นั่นเองแหละครับ ไม่ต้องคิดมากหรอก แค่เขียนโปรแกรมทางตรรกะเป็น เก่งสูตรและสมการทางคณิตศาสตร์ หัวหมอ เทคโนโลยีในข้อนี้ ก็ตีแตกไปได้อีกเปาะหนึ่งแล้ว
3.3     Cognitive architecture อยู่บนพื้นฐานของการคัดลอก ที่คนไทยนิยมชมชอบกันนัก  คิดดูว่า การสร้างเทคโนโลยีขึ้นมา สักสองตัว ให้ทำงานได้เหมือนกันทุกประการ อันหนึ่งใช้บนโลกของความจริง อีกอันใช้บนโลกเสมือน หรืออาจจำลองจากความเป็นจริงก็ได้ มองภาพไม่ออก  สมมุติว่าจะสร้างเกมขึ้นมาสักเกมหนึ่ง เอาเป็นเกมฟุตบอล ตัวเล่นฝั่งหนึ่งคือผีกาก้า แต่กลับได้ลงเล่น เป็นตัวเล่นของเชลซีไป ประเด็นคือว่าตัวกาก้าในเกมนั้น จะต้องเล่นได้ เหมือนกาก้าเล่นบนสนามจริงๆ เกมปัจจุบัน มันแค่ดึงเอาลักษณะ และจุดเด่น เทคนิคลีลา พวกนี้มายัดใส่ตัวเล่น เท่านั้น ไม่ได้ดึงความสามารถ วิธีคิดออกมาจากตัวตนของผู้เล่นจริงๆ ดังนั้น ถ้าจะดึงความเป็นตัวผู้เล่น ออกมาได้จริงๆล่ะก็ มัน ต้องศึกษาศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมอง ในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด: Wikipedia.org” มันต้องได้แบบนี้ ถึงจะใช่ ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำไม่ได้
3.5 Composite applications เป็นการผสมผสานบริการ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น VDOfrog ดึงวิดีโอจาก YouTube มาแสดงได้ เสมือนหนึ่ง วิดีโอนั้น ตั้งอยู่บน VDOfrog เอง ซึ่งอาจจะใช้การผสานแบบ APIs + APIs ก็ได้ มองว่าข้อนี้ มันก็ยังยากอยู่เหมือนกัน และลักษณะของเว็บไซต์มันจะคล้ายว่าเป็น Aggregator ไปซะทุกทีแล้ว แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ การผสานบริการ ก็อาจเป็นบริการต่างชนิดกันก็ได้ เช่น VDOfrog เองได้เป็นพันธมิตรกับทาง Flickr ซึ่งอนุญาต ให้สามารถดึงรูปภาพ มาสร้างเป็นไฟล์วิดีโอ ในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งแสดงผลบน VDOfrog ได้ อีกทั้ง ยังสามารถดาวน์โหลดมา แล้วเขียนใส่แผ่นเล่นได้เลย คล้ายๆกับซอร์ฟแวร์พวก Photo2VCD Distributed computing เป็นลักษณะคล้ายๆกับ Data Center ครับ คือการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องไป ประมวลผลร่วมกัน โดยใช้ความแตกต่างกันของโครงสร้าง องค์ประกอบฮาร์ดแวร์ หรือซอร์ฟแวร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคอมพิวเตอร์นั้น ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นที่เดียวกัน อาจเป็นที่ไหนก็ได้ แค่มีอินเตอร์เน็ต เข้าถึง Knowledge representation การแทนความรู้ เป็นหนึ่งในสาขาสำคัญที่สุด ของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) คือก่อนจะสร้างความฉลาดให้ระบบ ได้นั้น ต้องให้ระบบ รู้จักการนำความรู้นั้นไปใช้เสียก่อน
3.7      Ontology คือภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์ หรือที่ เคยกล่าวไว้ใครหนึ่ง ในเรื่อง Data about Data นั่นแหละ พูดอีกครั้งก็คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูลหรือ Tags นั่นเอง ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น พาหนะ (Vehicle) ที่กำหนดลักษณะของรถยนต์ (Car) ซึ่งรถยนต์ก็อาจจะเป็น ขับเคลื่อน 2 ล้อหรือ 4 ล้อ (2-Wheel Drive, 4-Wheel Drive) ก็ได้ แต่อีกความหมายหนึ่งของ Vehicle ก็อาจหมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ ดังนั้น Tags จะได้เป็น Truck ซึ่งแปลว่าของเล็กๆน้อยๆได้ด้วย
3.8  Recombinant text เคยดูหนังแอคชั่นไซไฟ ของต่างประเทศกันไหมล่ะครับ ที่ระบบคอมพิวเตอร์ มันพัฒนาจนมนุษย์ไม่สามารถหยุดมันได้ สุดท้ายมันก็กลับมาทำร้ายคนสร้างมันเอง เช่นในเรื่อง I-Robot กับ Terminator นั้น ก็คงดูๆเห็นๆกันมาบ้างแล้ว ดังนั้น แนวคิดที่ว่าจะให้มนุษย์สามารถ จัดการกับระบบ ในช่วงการทำงานช่วงใดก็ได้ จึงถูกหยิบยกมากล่าวอ้าง ว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีของ Web 3.0 ด้วย อือจินตนาการของมนุษย์
3.9     Scalable vector graphics (SVG) สืบเนื่องจากมาตรฐาน การสร้างภาพนั้น มีหลายรูปแบบ ทั้ง Gif, Jpeg, Png บางรูปแบบก็ต้องเสียตังค์ จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ทางผู้พัฒนาเสียด้วย ดังนั้นการนิยามวัตถุ อย่างภาพ ให้มีการพัฒนารูปแบบที่เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกัน ในแบบ XML นั้น จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่น่าจะมีบทบาทสูงพอสมควร
3.10  Semantic Web เทคโนโลยี จัดเป็น Aggregator แบบเต็มภาคภูมิก็ว่าได้ครับ คือเป็นเว็บไซต์ ที่มีการเชื่อมโยง สัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การเชื่อมโยงของแหล่งข้อมูลนั้น อาจเป็นเครือข่ายเดียวทั่วโลกก็ได้ ตรงนี้ล่ะครับ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บทความ จะมีมาก และอาจไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าแหล่งข้อมูลใดเป็นของเจ้าของเค้า
3.11   Semantic Wiki เมื่อข้อมูลมีมาก คนเขียนบล็อกมีจำนวนเยอะ ทำให้เนื้อหา มากมายขึ้นทุกที จนบางที ก็ไม่รู้ว่าจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ด้วยคีย์เวิร์ดอะไร ดังนั้นถ้าใช้คำค้นหา แบบกว้างๆ แต่มันกำจัดวงแคบๆให้เราได้ล่ะ จะเป็นอย่างไร การค้นหาแบบข้อมูลซ้อนข้อมูล หรือใช้การค้นหาหลายทิศทาง (Vertical Search) ผสมกับความเป็นส่วนตัวเข้าช่วย (Personalize) จะสามารถโฟกัสข้อมูลลงได้เช่นกัน ทีนี้มาคิดกันต่อว่า Google, Yahoo! Search หรือ Windows Live Search จะทำอย่างไรต่อ
3.12   Software Agents โปรแกรมที่ทำงาน ให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้โดยอัตโนมัติ เช่น มีบล็อกอยู่ 1 บล็อก ทำการติด Google AdSense ไปที่จุดต่างๆ อย่างเหมาะสม และไม่ผิดกฎของ AdSense ด้วย แต่เราไม่รู้หรอกว่า จุดต่างๆที่เราติดๆไปนั้น เหมาะกับบล็อก เรามากน้อยเพียงใด ไปดูจากที่อื่นๆ เขาแนะนำมา ว่าให้ติดตามจุดนั้นๆ อีกที ทีนี้ก็จะศึกษาพฤติกรรม คนอ่านบล็อกเรา แล้วลองเปลี่ยนจุดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาจุดที่เกิดการคลิก ซึ่งก่อให้เกิดรายได้มากที่สุด และก็ต้องเสียเวลาศึกษาพวกนี้นานมาก แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าการทำงานทั้งหมดนี้ Software Agents ทำให้หมด มันจัดวาง Ads ได้ถูกต้องตาม กฎอีกด้วยเทคโนโลยี ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางส่วนก็พัฒนากันออกมาได้แล้ว บางส่วนก็ยังเป็นแค่แนวคิดหลักการ ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ไทยเราจะตื่นตัวกับเทคโนโลยี เช่นนี้มากน้อยแค่ไหน หรือว่าจะยังคงตกยุคอยู่กับ Web 1.0 ต่อไป และคงเห็นกันแล้วว่า Web 3.0 นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

ที่มา : http://surangkanarit.blogspot.com/2012/09/web-10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น